หมวดทักทาย
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
สวัสดี | ซินจ่าว |
อากาศดีจัง | แด็ปเจิ่ย |
สบายดีไหม | แอง/จิ/โอง/บ่าก๊อแขวคง |
ฉันสบายดี ขอบคุณ | โตย-เขว่-ก่าม-เกิน |
พบกันใหม่ | แหนกัปหลาย |
ขอบคุณ | ก๊าม เอิน |
นอนหลับฝันดี | จุ๊กหงูงอน |
เชิญ | จ่าวหมึ่ง |
ไม่เป็นไร | โคงซาวเดิว |
ยินดีที่ได้รู้จัก | เริ๊ดวูยเดือกกัปแอง/จิ... |
ลาก่อน | ต๋ามเบียด |
ใช่ | เวิง |
ไม่ใช่ | คง |
อากาศร้อนมาก | เจิ่ยหนอง |
อากาศหนาวมาก | เจิ่อยแหล่ง |
งานยุ่ง | เบิ่น-เหวียก |
ฉันชื่อ… | โตย-เตน-หล่า |
หมวดอาหาร
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
อาหารเช้า | บื๋อซ้าง |
อาหารกลางวัน | เบื๋อเจือ |
อาหารเย็น | โด่อันโต้ย |
อาหารค่ำ | เบื๋อโต้ย |
ข้าว | ก๋าว |
น้ำ | เนื้อก |
กาแฟ | ก่าเฟ |
นม | เสือ |
เนื้อหมู | ฐิดเลิ่น |
ไก่ | ก่า |
ปลา | ก๊า |
เนื้อวัว | ฐิตบ่อ |
ผัก | เรา |
ผลไม้ | ฮวากว๋า |
อร่อย | งอน |
เผ็ด | ไก |
หวาน | หงอด |
เปรี้ยว | จัว |
เค็ม | หมัน |
หมวดการนับเลข
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
หนึ่ง | หมด |
สอง | ฮาย |
สาม | บา |
สี่ | โบ๊น |
ห้า | นัม |
หก | เซ๊า |
เจ็ด | ไบ๋ |
แปด | ต้าม |
เก้า | ชิ้น |
สิบ | เหมื่อย |
วัน | ไหง่ |
สัปดาห์ | เตวิ่อน |
เดือน | ท้าง |
ปี | นัม |
กี่โมงแล้ว | เบยเหซ่อหล่าเม้ยเหซ่อ |
ชั่วโมง | เส่อ (เตี้ยง) |
นาที | ฟุ๊ด |
หมวดช็อปปิ้ง
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
ราคาเท่าไหร่ | ก๊ายไหน่ซ้าบาวเญียว |
ลดราคาได้ไหม | เบิดเดือกคง |
เงินทอน | โด๋ย |
เงินสด | เตี่ยนหมัด |
บัตรเครดิต | แถ๋ติ้นหญุง |
ราคาแพง | ดั๊ด |
ราคาถูก | แหร๋ |
ซื้อ | มัว |
ไม่ซื้อ | คงมัว |
เสื้อผ้า | หวาย |
รองเท้า | ใหญ่ |
เครื่องสำอาง | โด่ชางเดี๋ยม |
ยา | ท๊วก |
เครื่องใช้ไฟฟ้า | เดี๋ยนตื๋อ |
กระเป๋า | ตุ๊ย |
กระเป๋าสตางค์ | วี้ |
หนังสือเดินทาง | โหะเจี้ยว |
ราคาพิเศษ | สา- ดั๊ก- เบียด |
ส่วนลด | ส่าม สา |
ลดได้ไหม | ส่าม- สา -เดือก-คง- เฮย- ดั๊ด |
ลดได้ | ส่าม- เดือก |
ลดไม่ได้ | คง- ส่าม- เดือก |
หมวดอำนวยความสะดวก
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
ห้องน้ำ | หญ่าเหวะซินห์ |
โทรศัพท์ | เดี๋ยนทวาย |
บัตรเติมเงิน | แถ่หนาปเดี่ยน |
โทรศัพท์สาธารณะ | เดี๋ยนทวายโกงโก๋ง |
โทรศัพท์มือถือ | เดี๋ยนทวายซีโด๋ง |
ตู้ ATM | ATM |
ผ้าเย็น | คันแหลง |
รองเท้าแตะ | แย้ป |
ผ้าเช็ดตัว | คันตั้ม |
ผ้าเช็ดหน้า | คันหมัด |
กล้องถ่ายรูป | กาเมรา |
กล้องวิดีโอ | มั้ยกวายฟิม |
คอมพิวเตอร์ | ไหม- ติ่ง |
อินเทอร์เน็ต | อิน-เตอร์-เน็ต |
หมวดสกุลเงิน :สกุลเงิน บาท
เหรียญ
|
คำอ่าน
|
1 บาท | โด่งซูหมดบาท |
2 บาท | ฮายบาท |
10 บาท | เหมื่อยบาท |
ธนบัตร | คำอ่าน |
20 บาท | เต่อฮายเมือยบาท |
50 บาท | นัมเมือยบาท |
100 บาท | หมดจำบาท |
500 บาท | นัมจำบาท |
1000 บาท | หมดหงี่นบาท |
หมวดการเดินทาง
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
โรงแรม | แค๊กสาน |
โรงภาพยนตร์ | หราปเจี้ยวฟิม |
โรงละคร | หญ่าฮ๊าต |
โรงพยาบาล | เบ๋งเหวียน |
พิพิธภัณฑ์ | บ๋าวต่าง |
สถานีตำรวจ | โด่นแก๋งซ้าต |
ภัตตคาาร | หญ่าห่าง |
ถนน | เดื่อง |
ร้านค้า | เกื๋อห่าง |
ห้างสรรพสินค้า | เซียวถิ |
ร้านขายยา | เหียวท๊วก |
สวนสาธารณะ | กงเวียน |
สนามกีฬา | เซินเถ๋ทาว |
สนามบิน | เซินไบ |
สถานีขนส่งสายเหนือ | จ๋ามแซบิ๊ดเฟี้ยบั๊ก |
สถานีขนส่งสายใต้ | จ๋ามแซบิ๊ดเฟี้อนาม |
สถานีขนส่งสายตะวันออก | จ๋ามแซบิ๊ดเฟี้ยดงบั๊ก |
ธนาคาร | เงินห่าง |
แท็กซี่ | ตั๊กซี |
รถเมล์ | แซบิ๊ด |
รถไฟฟ้า | เต่าเดี๋ยนเจนคง |
รถไฟฟ้าใต้ดิน | โอ๊ง |
เรือ | เถวี่ยน |
รถทัวร์ | แซบิ๊ด |
เครื่องบิน | ไม้ไบ |
- สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย
ควาย สัตว์ประจำชาติของเวียดนาม
ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกข้าวรายใหญ่ประเทศหนึ่งของโลก และการปลูกข้าว
ของชาวเวียดนามนั้นยังนิยมใช้ควายในการไถนาอยู่ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนเวียดนามจึงผูกพัน
กับควายมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยที่ควายนั้นจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเวียดนาม
(เช่นเดียวกับประเทศไทยในสมัยที่ยังนิยมใช้ควายไถนานั่นเอง) ดังนั้นควายจึงถูกยกขึ้น
เป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนาม
เทศกาลของประเทศเวียดนาม
ประเพณีเนื่องจากคนเวียดนามส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากจีน ทั้งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจีนนับพันปี จึงได้รับอิทธิพลทั้งด้านความเชื่อและการดำรงชีวิตมาจากจีนไม่น้อย แม้ปัจจุบันชาวเวียดนามส่วนใหญ่จะไม่นับถือศาสนาใดอย่างเคร่งครัด แต่ประเพณีและวันหยุดสำคัญต่างๆ ก็ยังสะท้อนความเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องการกราบไหว้บูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับคนจีน ตรุษเวียดนาม ตรุษเวียดนาม หรือ เต๊ดเวียนด๋าน แปลว่าเทศกาลวันต้นปีใหม่ โดยนับจากจันทรคติ ชาวเวียดนามเรียกสั้นๆว่า เต๊ด เป็นประเพณีเฉลิมฉลองที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี วันเต๊ดอยุ่ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ พิธีกรรมและประเพณีต่างๆ ที่กระทำกันในวันเต๊ดนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานการติดต่อสื่อสารและเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งระหว่างญาติมิตรระหว่างคนกับวิญญาณของบรรพบุรุษ และคนกับเทพเจ้าประจำบ้าน ช่วงเต๊ดยังถือเป็นช่วงต่อของเวลาที่สำคัญ เป็นโอกาสที่จะสร้างความหวังที่ดีงามให้แก่ตนเอง เช่น การได้ยินเสียงสัตว์หลังเที่ยงคืนของวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือภายหลังตื่นขึ้นในตอนเช้าของวันใหม่ถ้าได้ยินเสียงไก่ตัวผู้ขัน ทำนายว่าปีนั้นจะเป็นปีที่ยุ่งยาก ถ้าได้ยินเสียงสุนัขต้องระมัดระวังการถูกขโมย เป็นต้น หนึ่งสัปดาห์ก่อนเต๊ด บางครอบครัวไปคารวะหลุมศพพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและจุดธูปเชิญวิญญาณของผู้ตายจากภพอื่นให้กลับมาเยี่ยมครอบครัว ก่อนวันเต๊ด 1 วัน เรียกว่า ตั๊ดเนียน แปลว่าสิ้นปี เป็นการฉลองช่วงเวลาสุดท้ายในปีเก่าอย่างสนุกสนาน จนเมื่อเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่จะถือเป็นวันหลักที่สามีต้องอยู่กับสมาชิกในครอบครัว และญาติมิตรลูกหลานมารวมตัวกัน เด็กๆ จะได้รับการอวยพรจากผู้ใหญ่ เรียกว่า หมึ่งต่วย แปลว่า อวยพรอายุ เป็นการส่งความปรารถนาดีให้ประสบความสำเร็จอีกปี และก็รับการแจกเงินใส่ซองสีแดง สื่อความหมายว่าเงินทุนก้อนเล็กๆหรือขวัญถุง วันนั้นครอบครัวมาพร้อมหน้ากันหน้าแท่นหรือหิ้งบูชาบรรพบุรุษ แล้วเซ่นไหว้อาหารมื้อแรกสำหรับการกลับมาเยือนของบรรพบุรุษจะอยู่ตลอดช่วงเทศกาลเต๊ด หลังจากนั้นคนในครอบครัวจะกินร่วมกัน วันที่สองของเต๊ดจะไปเยี่ยมอวยพรครอบครัวของภรรยาและเพื่อนสนิท เมื่อถึงวันที่สามจึงไปเยี่ยมคนอื่นๆ เช่น ครู เจ้านาย แพทย์ที่เคยรักษา เป็นตัน เย็นวันนี้เป็นวันที่บรรพบุรุษจากไป ชาวเวียดนามจึงเผากระดาษทองให้บรรพบุรุษนำติดตัวกลับไปใช่บนสวรรค์ ในช่วงเทศกาลเต๊ด คนที่มีข้อบาดหมางใจที่ทำให้ไม่สบายใจใดๆ ต้องทิ้งไป ห้ามพูดหยาบคาย ด่าทอ ร้องไห้ ให้พูดสิ่งที่ดี ไพเราะ เต๊ดจุงเวียน เต๊ดจุงเวียน (Tet Trung Nguyen) เป็นงานคล้ายกับงานสารทจีน เรียกอีกอย่างว่า สาโตยวองเญิน หรือเทศกาลโปรดผีเร่ร่อน จัดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 7 ตามจันทรคติ เชื่อว่าวันที่วิญญาณร้ายขึ้นมาบนโลก จึงมีการทำทานให้วิญญาณเร่ร่อนโดยนำข้าวต้ม ถั่วคั่ว หรือกระดาษเงินกระดาษทอง นำไปวางไว้ในวัดหรือโคนต้นไทร หลังจากเสร็จพิธีจะมอบอาหารที่ใช้ไหว้ผีให้เด็กๆ หรือคนยากจน ส่วนกระดาษเงินกระดาษทองจะเผาเพื่อส่งให้วิญญาณเร่ร่อนในอีกโลก เต๊ดดวานเหงาะ เต๊ดดวานเหงาะ (Tet Doan Ngo) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นกลางปี ของทุกครอบครัวเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย และปกป้องคนในครอบครัวจากโรคภัยไข้เจ็บ มีขึ้นในวันที่ 5 เดือน5ตามจันทรคติ ที่ต้องจัดขึ้นในช่วงนี้เนื่องมาจากเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูร้อน ซึ่งมีผู้คนจะเจ็บป่วยได้ง่าย เทศกาลนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเต๊ดเซิวเบาะ (Tet Sao Bo) เซิวเบาะ แปลว่า หนอน หรือแมลง เนื่องจากเป็นวันที่ชาวไร่ชาวนาจะกำจัดแมลงเพื่อเริ่มปลูกพืชในฤดูกาลใหม่นั่นเอง ในวันนี้ชาวนาทุกคนตื่นแต่เช้า กินผลไม้ และข้าวเหนียวหมัก รวมถึงมีพิธีบวงสรวงในตอนเที่ยงที่ถือว่าเป็นเวลาของม้า(Ngo)ด้วย เต๊ดจุงทู เต๊ดจุงทู (Tet Trung Thu) หรือเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง คล้ายกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน8ตามปฏิทินจันทรคติ หรืออยู่ในช่วงเดือนกันยายน ในเทศกาลนี้ชาวเวียดนามจะจัดประกวดขนมแบ๋ญจุงทู (Banh Trung Thu) หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ รูปร่างกลม ผิวหน้าประดับลวดลายสวยงาม ใส่ไส้ถั่วและผลไม้ แต่ละบ้านจะมีโคมไฟประดับเพื่อเฉลิมฉลอง มีขบวนแห่เชิดสิงโตและมังกร ซึ่งในขบวนนี้จะอนุญาตให้เด็กๆร่วมร้องเพลงเต้นรำไปด้วย ในช่วงที่เวียดนามยังอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสเกรงว่าหากปล่อยให้ชาวเวียดนามชุมนุมกันมากเข้าจะนำไปสู่การปฏิวัติ จึงไม่อนุญาตให้ผู้ใหญ่เข้าร่วมเต้นรำในขบวนแห่ของเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง นับแต่นั้นมา เทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลของเด็ก เต๊ดห่านทึ้ก เต็ดห่านทึ้ก (Tet Han Thuc) เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เวียดนามได้รับมาจากจีน ทางภาคเหนือของเวียดนามโดยเฉพาะรอบๆเมืองฮานอย จะเฉลิมฉลองประเพณีนี้พร้อมกันในวันที่ 3 เดือน3 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เดิมทีมีกฎว่าในวันนี้ห้ามจุดไฟเพื่อหุงอาหาร แต่ปัจจุบันชาวเวียดนามจะถือโอกาสไปเยี่ยมเยียนและทำความสะอาดสุสานประจำตระกูล โดยจะทำ แบ๋ญโจย ขนมทำจากข้าวเหนียวสอดไส้น้ำตาลแดงนำไปต้มสุก และแบ๋ญไจ ขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวสอดไส้ถั่วบด แช่ในน้ำเชื่อม โรยงา คล้ายบัวลอยไทย เป็นของไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลตลาดนัดเคาวาย ชุมชนเคาวาย (Khau Vai) ตั้งอยู่ในเขตแหม่วหวาก อยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดห่าซาง เป็นชุมชนของเผ่าซั้ย (Giay) หนุ่ง(Nung) และเหมื่อง (Muong) เทศกาลตลาดนัดของชุมชนนี้จะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ในระยะเวลาประมาณ 3 วัน วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่มีพิธีผลัดเปลี่ยนปฏิทินสู่ช่วงเวลาใหม่ของปี คนในชุมชนจะอาบน้ำแต่งตัวสวยงามตามฤกษ์ที่กำหนด นำตะเกียง กำยาน ดอกไม้ ผลไม้ ไปบูชาที่เจดีย์ สวดมนต์และขอพรให้ชีวิตในปีนี้ประสบแต่สิ่งดีๆ ในวันที่สองและสามของเทศกาลจะมีการถวายของบูชา ก่อกองทรายเพื่อโชคลาภ และสรงน้ำพระพุทธรูป นอกจากนี้ช่วงเวลาของเทศกาล ผู้คนจากท้องถิ่นที่ใกล้เคียงจะมารวมตัวกันซื้อขายสินค้าหลายประเภท มีการแสดงดนตรีและการละเล่นท้องถิ่น รวมถึงจัดแสดงงานศิลปะพื้นบ้านอีกด้วย เทศกาลลิม เทศกาลลิม (Lim) เป็นเทศกาลสำคัญในภาคเหนือของเวียดนาม ที่มีผู้เข้าร่วมนับล้านคน จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ในเขตบั๊กนิญ ไม่ไกลจากกรุงฮานอยนัก เทศกาลนี้มีจุดเด่นที่บทเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า กวานเหาะ (Quan ho) ซึ่งเป็นเพลงระลึกถึงชาวนาชาวไร่ ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ขับชายหญิง ผู้ขับร้องที่มีอยู่หลากหลายกลุ่ม ทั้งบนเรือ ในแม่น้ำ บนเนินเขา และตามเจดีย์ที่นับถือในท้องที่นั้น นอกจากนี้ยังมาการละเล่นพื้นบ้านที่แปลกและน่าสนใจหลายอย่าง เช่น การแข่งทอผ้าพร้อมกับขับร้องบทเพลงกวานเหาะไปด้วย และการขีดวงกลมบนพื้นและนำกบเป็นๆมาปล่อยไว้ และให้เด็กแข่งกันดูแลไม่ให้กบกระโดดออกมานอกวง โดยต้องเลี้ยงเด็กและสุมไฟในเตาไปด้วย หากกบกระโดดออกนอกวงได้ หรือไฟในเตาดับ หรือเด็กร้องให้จะถือว่าแพ้ไป เป็นต้น เทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง เทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง (Le hoi den Hung) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวเวียดนาม และเป็นวันหยุดราชการมาตั่งแต่ต้นปี ค.ศ.2007 จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน เพื่อระลึกถึงและแสดงความเคารพต่อกษัตริย์หุ่ง กษัตริย์องค์แรกตามตำนานของเวียดนาม ที่ว่ากันว่าเป็นผู้ริเริ่มสอนให้ชาวเวียดนามปลูกข้าว การเฉลิมฉลองกินเวลาหลายวัน ณ วันของกษัตริย์หุ่ง บนเขาเหงียหลิง มีการปล่อยจะมีทั้งการประดับธงตามถนนสายที่มุ่งสู่ภูเขาเหงียหลิง มีการปล่อยบอลลูนและโคมไฟลอยในคืนก่อนวันพิธีหลัก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือน 3 ตามจันทรคติ ในวันนั้นจะมีผู้แสวงบุญจากทั่วทุกทิศมารวมตัวกัน นอกจากจะมีพิธีบูชาวิญญาณของกษัตริย์ในอดีตแล้ว ยังมีขบวนแห่งช้าง การแสดงเชิดมังกร และขบวนพาเหรดจากแต่ละท้องถิ่นด้วย ประเพณีชนควาย เป็นประเพณีท้องถิ่นของเมืองโดเซิน (Do son) ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศริมทะเลไม่ไกลจากกรุงฮานอย มีตำนานว่าผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านฝันเห็นควายสองตัวต่อสู้กันจนเกิดคลื่นสูงในท้องทะเล เป็นนิมิตแสดงให้เห็นว่าปีนั้นจะทำประมงได้ผลดี จากนั้นจึงมีการแข่งขันชนควายเรื่อยมาทุกปีเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนถึงวันแข่งขัน ชาวบ้านจะเลือกเฟ้นควายที่มีลักษณะดีร่างกายกำยำแข็งแรงมาฝึกฝนอย่างเข้มงวด และมีการแข่งคัดเลือกหลายรอบก่อนจะเหลือ 16 ตัวสุดท้ายเข้าแข่งขันในวันเทศกาล ก่อนเริ่มการแข่งขันจะมีการแสดงระบำธงของหนุ่มสาวในท้องที่ จากนั้นจึงจะเป็นการแข่งชนควายที่ดุเด็ดเผ็ดมัน ควายตัวใดหันหลังแล้ววิ่งหนีไปก่อนจะถือว่าแพ้ ส่วนตัวที่ชนะเลิศ เจ้าของควายจะได้รับรางวัลมากมาย ก่อนที่ควายจะถูกเชือดเพื่อใช้เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำและนำเนื้อควายมาลี้ยงฉลอง ประเพณีบูชาจูด่งตื่อ เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นช่วงปลายเดือนเมษายน โดยมีศูนย์กลางที่วัดชุมชนดาฮว่า ใกล้กรุงฮานอย มีจุดประสงค์เพื่อบูชาจูด่งตื่อ(Chu Dong Tu) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเพาะปลูกของเวียดนาม วันงานชาวเวียดนามจะใส่เสื้อผ้าสีสันสดใส มีขบวนการแห่เชิดมังกรตัวใหญ่ที่ต้องใช้คนนับสิบช่วยกันเชิด มีการร้องรำทำเพลงทั้งตามถนนและบนเรือในแม่น้ำแดง ชาวเวียดนามจะตักน้ำจากในแม่น้ำนั้นเพื่อนำไปชะล้างทำความสะอาดรูปเคารพในวัดอีกด้วย เทศกาลจั่วเฮือง ทุกๆปี ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ชาวเวียดนามและนักท่องเที่ยวนับแสนคนจะเดินทางไปเฉลิมฉลองช่วงปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติที่จั่วเฮือง หรือเจดีย์น้ำหอม ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเฮืองติ้จ จุดเด่นของเทศกาลนี้ไม่ใช่การร้องรำ หรือการละเล่นพื้นบ้าน แต่เป็นการเดินทางจาริกแสวงบุญ เยี่ยมชมธรรมชาติ อาราม และเจดีย์ นับร้อยระหว่างเส้นทางสู่จั่วเฮืองเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เทศกาลนี้มีระยะเวลาถึง 3 เดือน ถือเป็นเทศกาลที่ยาวนานที่สุดของเวียดนามและได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกด้วย เทศกาลจั่วเถ่ย เป็นเทศกาลทางศาสนาพุทธที่จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ในบริเวณใกล้เคียงกับจั่วเถ่ย (Chua thay) หรือวัดเถ่ย ซึ่งอยู่ใกล้กับภูเขาส่านเซิน เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงด่าวแห่ญ พระสงฆ์ที่ชาวเวียดนามเลื่อมใสมาก เนื่องจากท่านมีชื่อเสียงในด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเป็นผู้ริเริ่มการแสดงหุ่นกระบอกน้ำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเทศกาลนี้มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานี้ ชาวเวียดนามจะเดินทางมาที่จั่วเถ่ยเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดูการแสดงหุ่นกระบอกและเที่ยวชมภูเขาส่ายเซิน เทศกาลชมจันทร เทศกาลชมจันทร์ หรือ อ๊อกออมบก (Oc Om Boc) เป็นวันหยุดในวันเพ็ญเดือน10 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเริ่มเข้าฤดูแล้ง ชาวเวียดนามในชุมชนต่างๆจะรวมตัวกันที่ลานหน้าเจดีย์ วางผลไม้ต่างๆและขนมบนโต๊ะไว้เป็นของบูชา ตกแต่งด้วยลำไม่ไผ่ยาวประดับดอกไม้ใบไม้ เมื่อถึงเวลาพระจันทร์ขึ้น ชาวเวียดนามจะนั่งบนพื้น สวดมนต์ขอพรดวงจันทร์ให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ หลังพิธีการจะมีการถามตอบ และให้พรเด็กๆ รวมถึงร้องรำฉลองจนถึงเวลาดึกดื่น เทศกาลโบหม่า เทศกาลโบหม่า (Bo Mai) เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์เวียดนามในเขตที่ราบสูงตอนกลางประเทศ เช่น เอเด (E de) สาซาย(Gia Rai) และบานา (Ba Na) มีประเพณีการเคารพญาติพี่น้องที่เสียชีวิตต่างจากภูมิภาคอื่น โดยจะคอยดูแลและกราบไหว้บูชาสุสาน ในช่วงเวลาสาม ห้าหรือเจ็ดปี หลังจากผู้ตายจากไปเท่านั้น ในเทศกาลนี้จะเฉลิมฉลองใหญ่โตถึงขั้นล้มวัวหลายตัว มีสุราอาหารครบ มีธรรมเนียมทำลายสุสานเก่าและสร้างขึ้นใหม่ ตามความเชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยวิญญาณผู้ตายให้ได้ไปเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าหากผ่านธรรมเนียมนี้ไปแล้ว สามีหรือภรรยาของผู้ตายจะสามารถแต่งงานสร้างครอบครัวใหม่อีกด้วย งานแข่งช้าง เป็นเทศกาลสำคัญในแถบที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนามจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์การสู้รบกับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่นี้ ในช่วงงานจะมีการให้ช้างพักงานปกติเพื่อเตรียมตัวเข้าแข่งขันในสนามแข่งใกล้หมู่บ้าน บวนโดน (Buon Don)สนามแข่งกว้างขวางพอให้ช้าง 10 เชือก เดินเรียงกันได้ และมีความยาวเวียดนามในท้องถิ่นจะสวมเสื้อผ้าสีสันสดใสมาร่วมชมการแข่งขัน และมีการฉลองยิ่งใหญ่ให้แก่ทั้งคนและช้างผู้ชนะ เทศกาลโก่ลวา จัดขึ้นทุกปีในช่วงหลังเทศกาลเต๊ดเวียนด๋าน (Tet Nguyen Dan) โดยมีจุดประสงค์เป็นการบูชาอานเซืองเวือง กษัตริย์ในตำนานของเวียดนาม ผู้พ่ายแพ้ในการศึกเพราะถูกพระธิดาทรยศ ในเทศกาลนี้ยังจะมีการแห่รูปปั้นของกษัตริย์อานเซืองเวีองพระธิดา มีการตกแต่งวัดโก่ลวา ในกรุงฮานอยด้วยธงหลากสีที่เป็นสัญลักษณ์ของธาตุทั้ง5 ชนิดตามความเชื่อโบราณ (เหล็ก ไม้ น้ำ ไฟ และดิน)มีการแสดงดนตรี งิ้ว และแต่งองค์ทรงเครื่องม้าที่ใช้ในพิธีด้วยอานที่ตกแต่งอย่างงดงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น