ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ

    ประเทศเวียดนาม
    ประเทศ ใน ทวีปเอเชีย
    ประเทศเวียดนาม มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ... วิกิพีเดีย
    ประชากร89.71 ล้าน (พ.ศ. 2556) ธนาคารโลก
    ระบบการปกครองรัฐคอมมิวนิสต์, รัฐสังคมนิยม, ระบบพรรคเดียว

     ข้อมูลทั่วไป :

                   ประเทศเวียดนาม  มีชื่ออย่างเป็นทางการ  คือ  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)  ได้รับการขนานนามให้เป็น  "รอยยิ้มแห่งอาเซียน"  ตั้งอยุ่คาบสมุทรอินโดจีน  มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ  ติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก  ส่วนทางทิศตะวันออกติดอ่าวตังเกี๋ย  และทะเลจีนใต้  
    ซึ่งในภาษาเวียดนามเรียกว่าทะเลจีนใต้ว่า  ทะเลตะวันออก  ประเทศเวียดนามมีประชากรมากกว่า  98  ล้านคน  ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ  13  ของโลก

                   เวียดนาม  แม้จะไม่มีเขตแดนติดต่อกัน   แต่ชาวญวนกับชาวไทยก็มีความสัมพันธ์กันมาเนิ่นนาน  นับตั้งแต่สมัยโบราณ  มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4  ไทยกับญวนมีการกระทบกระทั่งกัน  ด้วยเหตุการณ์ทางด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งระดับผู้ปกครองประเทศเคยลี้ภัยมาพึ่งพิง
                   เมื่อสมัยกอบกู้เอกราช  โฮจิมินห์เองก็เคยหลยมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดนครพนม  นอกจากนครพนมแล้ว  ทางจังหวัดอีสานหลายจังหวัดเป็นที่รองรับการอพยพเข้ามาอาศัยของชาวญวน ที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น  ในยุคล่าอาณานิคม  ไทยก็เป็นที่หลบภัยอย่างดี  มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนบ้านเสมอ
                   ชาวญวนมีน้ำอดน้ำทน  ขยันหมั่นเพียร  แม้จะผ่านสงครามอันทำให้บ้านเมืองเสียหาย  แต่ไม่นานนัก  เวียดนามก็สามารถบูรณะบ้านเมืองขึ้นได้สลัดความล้าหลังทิ้ง  แทบไม่เหลือเวียดนามสมัยเก่าก่อน
                   แต่สิ่งหนึ่งที่เวียดนามไม่เปลี่ยก็คือ  สังคม  วัฒนธรรม  ยังยึดมั่นอยู่ดุจเดิม  แม้จะผ่านสงครามโลกมาถึง  2  ครั้ง  เป็นสงครามกอบกู้เอกสารจากฝรั่งเศษ  และหลังเป็นสงครามปลดแอกกับสหรัฐอเมริกา  บอกช้ำ  แต่เวียดนามก็ฟื้นตัวเร็ว  ชาวเวียดนามมีความเด็ดเดี่่ยว  ยึดมั่นกับประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่น
                   ความยึดมั่นอันเหนียวแน่นนี้เอง  เป็นเสมือนเกราะกำบังให้ชาวเวียดนามยืนยงอยู่ได้ตราบจนถึงทุกวันนี้  สังคม  วัฒนธรรมของเวียดนามเข้มแข็ง  ผู้คนมีจิตใจมั่นคง  ช่วยให้ความเป็นชาติยืนยงอยุ่ได้อย่างถาวร
    "เอกราช  อิสรภาพ   ความสุข"
                   คือ  คำขวัญประจำชาติของเวียดนาม  ประเทศที่มีบทบาทสำคัญและเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน  การบริโภคในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  มีศักยภาพการผลิตสูง  
    แรงงานในประเทศมีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานยังคงต่ำทั้งนี้เวียดนามตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี  พ.ศ. 2563
    ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

    ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก

    พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
    เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
    ประชากร : ประมาณ 86.1 ล้านคน (กรกฎาคม 2551) เป็น เวียด 80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย 1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง 1.03%
    ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)
    ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
    ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อมุสลิม
    สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)

    อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 461 ด่อง/ 1 บาท (มกราคม 2550)




    ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

    * ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) (27 มิถุนายน 2549)
    * หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง (Nguyen Tan Dung)
    * เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)
    * ประธานาธิบดีเจือง เติ๋น ซาง
    เกร็ดความรู้และวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม
                   ประเทศเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตัว S ทอดตัวยาวเหยียดไปตามแหลมอินโดจีน ด้านตะวันออกติดทะเลจีนใต้ ด้านเหนือติดจีน ด้านตะวันตกติดลาว และกัมพูชา สามในสี่ของพื้นที่เป็นภูเขาและป่า ครอบคลุมทะเล ไหล่ทวีป และหมู่เกาะนับพันเกาะจากอ่าวตังเกี๋ยจรดอ่าวไทย รวมทั้งหมู่เกาะสแปรตลีและพาราเซลที่จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศแย่งกันอ้างกรรมสิทธิ์ สาเหตุเป็นเพราะมีแหล่งน้ำมันใต้ดินที่อุดมสมบูรณ์ 
                   เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 432 เวียตนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียตนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียตนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียตนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น 
    วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม
    bเวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ 
    วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ  รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้ 
    อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน

    b ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ 
    (จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุร


    ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม

                   ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน


                   ถ้าจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นสามารถ แยกแยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายในที่นี้จะ กล่าวเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมเวียดนาม กับ วัฒนธรรมไทยหรืออื่น ๆ เท่าที่จะค้นคว้าได้ ดังนี้ 



    วัฒนธรรมทางด้านภาษา 

                   ภาษาของเวียดนามในช่วงแรกใช้อักษรจีนมาตลอดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จึงเปลี่ยนมาใช้ อักษรโรมัน (quoe ngu) และถ้าสังเกตจริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศล และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ การออกเสียงหรือความหมายของคำแล้วจะพบว่า ความใกล้เคียงของภาษาไทยกับภาษาลาวจะใกล้เคียง กันมากกว่า ภาษาเวียดนาม ดังตัวอย่างง่าย ๆ ต่อไปนี้

                   ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ของป้ายทะเบียนท้ายรถยนต์ มีความแตกต่างกันมาก เช่นกัน ดังรายละเอียดต่อไป
    วัฒนธรรมพื้นบ้าน 

                   สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน

    ศิลปพื้นบ้าน 

                   ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม


    เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)”

                   โดยปกติแล้ว ชาวเวียตนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทสกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ

    เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

                   จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์

    ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง ในประเทศเวียดนาม
                   พิธีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงเป็นกิจกรรมความเชื่อแบบโบราณแต่แฝงไว้ด้วยคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนามซึ่งการเข้าทรงได้รับการถือเป็นศิลปะการแสดงที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะมีทั้งการเล่นดนตรี การร้องเพลงและฟ้อนรำ แม้จะผ่านกาลเวลามานานแสนนานแต่ประเพณีนี้ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและโดยคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้ การบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงของประชาชนเวียดนามกำลังได้รับการยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก้ ขอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรม
     การบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีที่มีมาแต่เดิมนานในเวียดนามโดยเริ่มมาจากการบูชาบรรดาเทพธิดาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งบรรดาเทพธิดานั้นเป็นตัวแทนของธรรมชาติ เช่น เจ้าแม่ธรณี เจ้าแม่คงคา เจ้าแม่โพสพ เป็นต้น ต่อมาภายหลังประชาชนได้มีการเชิดชูบูชาบรรดาวีรสตรีของชาติ เช่น บรรดาเจ้าหญิง พระมเหสีหรือผู้ให้กำเหนิดอาชีพของหมู่บ้านเป็นเจ้าแม่โดยถือว่า เป็นทั้งเทพธิดาที่มีอำนาจลึกลับศักสิทธิ์และเป็นทั้งบุพการีที่มีใจการุญคอยให้ความคุ้มครองอย่างใกล้ชิดในชีวิตแห่งจิตวัญญาณของประชาชน ศ.ดร. NgoDucThinh อดีตหัวหน้าสถาบันศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนามเผยว่า"การบูชาเจ้าแม่ก็คือการบูชาบุพการีที่ถือเป็นเทพธิดาซึ่งเป็นเทพเจ้าในความเชื่อของมนุษย์ นั่นคือผู้ที่สร้างอวกาศ ดูแลอวกาศ คอยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์และบันดาลประโยชน์สุขพื้นฐาน 3 ประการให้แก่มนุษย์คือ สุขภาพ เงินทองและโชคลาป การบูชาเจ้าแม่เน้นในความสนใจต่อมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยเหตุฉนั้นจึงดูเหมือนว่า สังคมยิ่งทันสมัย การบูชาเจ้าแม่ก็ยิ่งพัฒนาเพราะใครๆก็ต้องการสุขภาพ เงินทองและยศถาบรรดาศักดิ์กันทั้งนั้น”
                   ตามความเชื่อของมนุษย์ อวกาศแบ่งเป็น 3 ภาคหรือ 4 ภาค แต่ละภาคมีสัญลักษณ์เป็นสีแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคฟ้าเป็นสีแดง ภาคดินเป็นสีเหลือง ภาคน้ำเป็นสีขาวและภาคป่าเป็นสีเขียวโดยเจ้าแม่ได้กลายร่างเป็นเทพเจ้าดูแลแต่ละภาค ฉนั้นชาวเวียดจึงถือเจ้าแม่เป็นตัวแทนที่อมตะแห่งจิตวิญญาณของตนซึ่งหนึ่งในพิธีสำคัญในการบูชาเจ้าแม่คือ พิธีเข้าทรงเป็นพิธีที่มีการเล่นดนตรี ร้องเพลงและฟ้อนรำด้วย เพลงที่ร้องในพิธีเข้าทรงของชาวเวียดคือ เพลง ChauVan พิธีเข้าทรงมักจะจัดขึ้นที่วัดในบรรยากาศที่เงียบสงบ การเตรียมงานทำพิธีเข้าทรงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยมีถาดเครื่องเซ่นไหว้ที่จัดแจงอย่างสวยงาม มีแสงเทียนริบหรี่สร้างบรรยากาศแห่งความลึกลับของเวทีเข้าทรง ลักษณะการเข้าทรงก็คือการกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่วัญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาเข้าทรงเพื่อประทานพรให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรง มีโชคลาป ผู้ที่เป็นร่างทรงจะมีกริยาท่าทางและเสียงพูดคล้ายผู้มาเข้าทรง นาง Lien ศีลปินผู้สูงอายุและเคยเข้าร่วมพิธีเข้าทรงกล่าวว่า“ดิฉันเป็นศีลปินในคณะนาฏศิลป์แห่งชาติ เคยสวมบทบาทแสดงมามากมายหลายรูปแบบ แต่เมื่อมาร่วมพิธีเข้าทรงครั้งนี้ มีความรู้สึกว่า ผู้เป็นร่างทรงแสดงบทบาทของแต่ละบุคคลได้ดีเหมือนศีลปินในบทละคร ไม่ว่าจะเป็นบทนักรบต่อสู้กับศัตรูหรือบทอื่นๆ”
                   โดยผ่านร่างทรงของเทพเจ้าในประวัติศาสตร์ บรรดาบรรพบุรุษที่มีคุณความดีต่อชาติบ้านเมืองได้รับการเคารพบูชาซึ่งนักศึกษาวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศล้วนมีความเห็นเดียวกันว่า ความเชื่อในการบูชาเจ้าแม่และพิธีเข้าทรงนั้นมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ดีงามของเวียดนามและมีเงื่อนไขอย่างสมบูรณ์ในการยื่นขอรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกจากองค์การยูเนสโก้
    ขอบคุณที่มา : http://vovworld.vn/th-TH/วัฒนธรรม/ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง/89903.vov

    การแต่งกายเวียดนาม

    ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้ แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ
    1. เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
    2. เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
    ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว 


    การแต่งกาย 

    ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า 


    ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ 



    ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

    ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ 

    จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย 

    ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย

    การแต่งกายของชาวเวียดนาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น