ประเทศเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อมูลการทักทาย

หมวดทักทาย

คำศัพท์ 
คำอ่าน 
สวัสดีซินจ่าว 
อากาศดีจังแด็ปเจิ่ย
สบายดีไหมแอง/จิ/โอง/บ่าก๊อแขวคง 
ฉันสบายดี ขอบคุณ โตย-เขว่-ก่าม-เกิน 
พบกันใหม่แหนกัปหลาย 
ขอบคุณ ก๊าม เอิน 
นอนหลับฝันดี จุ๊กหงูงอน 
เชิญ จ่าวหมึ่ง
ไม่เป็นไร โคงซาวเดิว
ยินดีที่ได้รู้จักเริ๊ดวูยเดือกกัปแอง/จิ... 
ลาก่อนต๋ามเบียด 
ใช่ เวิง 
ไม่ใช่ คง 
อากาศร้อนมากเจิ่ยหนอง 
อากาศหนาวมาก เจิ่อยแหล่ง 
งานยุ่ง เบิ่น-เหวียก 
ฉันชื่อ… โตย-เตน-หล่า 
หมวดอาหาร
คำศัพท์ 
คำอ่าน 
อาหารเช้าบื๋อซ้าง 
อาหารกลางวันเบื๋อเจือ
อาหารเย็นโด่อันโต้ย 
อาหารค่ำเบื๋อโต้ย
ข้าวก๋าว
น้ำเนื้อก
กาแฟก่าเฟ 
นมเสือ 
เนื้อหมูฐิดเลิ่น
ไก่ก่า
ปลาก๊า 
เนื้อวัวฐิตบ่อ
ผักเรา
ผลไม้ฮวากว๋า
อร่อยงอน 
เผ็ดไก
หวานหงอด
เปรี้ยวจัว 
เค็มหมัน
หมวดการนับเลข
คำศัพท์
คำอ่าน 
หนึ่งหมด 
สองฮาย 
สามบา 
สี่โบ๊น
ห้านัม 
หกเซ๊า 
เจ็ดไบ๋ 
แปดต้าม 
เก้าชิ้น
สิบเหมื่อย 
วันไหง่
สัปดาห์เตวิ่อน
เดือนท้าง 
ปีนัม 
กี่โมงแล้ว เบยเหซ่อหล่าเม้ยเหซ่อ 
ชั่วโมงเส่อ (เตี้ยง)
นาที ฟุ๊ด
หมวดช็อปปิ้ง
คำศัพท์ 
คำอ่าน 
ราคาเท่าไหร่ก๊ายไหน่ซ้าบาวเญียว 
ลดราคาได้ไหมเบิดเดือกคง 
เงินทอนโด๋ย 
เงินสดเตี่ยนหมัด 
บัตรเครดิต แถ๋ติ้นหญุง
ราคาแพง ดั๊ด
ราคาถูก แหร๋ 
ซื้อมัว
ไม่ซื้อคงมัว 
เสื้อผ้าหวาย
รองเท้า ใหญ่ 
เครื่องสำอาง โด่ชางเดี๋ยม 
ยาท๊วก 
เครื่องใช้ไฟฟ้าเดี๋ยนตื๋อ 
กระเป๋าตุ๊ย 
กระเป๋าสตางค์ วี้ 
หนังสือเดินทางโหะเจี้ยว 
ราคาพิเศษ สา- ดั๊ก- เบียด 
ส่วนลด ส่าม สา 
ลดได้ไหม ส่าม- สา -เดือก-คง- เฮย- ดั๊ด 
ลดได้ ส่าม- เดือก 
ลดไม่ได้ คง- ส่าม- เดือก
หมวดอำนวยความสะดวก
คำศัพท์ 
คำอ่าน 
ห้องน้ำ หญ่าเหวะซินห์ 
โทรศัพท์ เดี๋ยนทวาย
บัตรเติมเงิน แถ่หนาปเดี่ยน 
โทรศัพท์สาธารณะ เดี๋ยนทวายโกงโก๋ง 
โทรศัพท์มือถือเดี๋ยนทวายซีโด๋ง
ตู้ ATM ATM 
ผ้าเย็น คันแหลง 
รองเท้าแตะ แย้ป 
ผ้าเช็ดตัว คันตั้ม 
ผ้าเช็ดหน้า คันหมัด
กล้องถ่ายรูปกาเมรา
กล้องวิดีโอ มั้ยกวายฟิม 
คอมพิวเตอร์ ไหม- ติ่ง 
อินเทอร์เน็ต อิน-เตอร์-เน็ต 
หมวดสกุลเงิน :สกุลเงิน บาท 
เหรียญ 
คำอ่าน
1 บาท โด่งซูหมดบาท 
2 บาท ฮายบาท 
10 บาท เหมื่อยบาท 
ธนบัตรคำอ่าน 
20 บาท เต่อฮายเมือยบาท 
50 บาท นัมเมือยบาท 
100 บาท หมดจำบาท 
500 บาทนัมจำบาท 
1000 บาท หมดหงี่นบาท 
หมวดการเดินทาง
คำศัพท์
คำอ่าน 
โรงแรม แค๊กสาน 
โรงภาพยนตร์ หราปเจี้ยวฟิม 
โรงละครหญ่าฮ๊าต 
โรงพยาบาลเบ๋งเหวียน 
พิพิธภัณฑ์บ๋าวต่าง 
สถานีตำรวจ โด่นแก๋งซ้าต 
ภัตตคาารหญ่าห่าง 
ถนนเดื่อง 
ร้านค้าเกื๋อห่าง
ห้างสรรพสินค้าเซียวถิ 
ร้านขายยาเหียวท๊วก 
สวนสาธารณะกงเวียน
สนามกีฬาเซินเถ๋ทาว 
สนามบินเซินไบ
สถานีขนส่งสายเหนือ จ๋ามแซบิ๊ดเฟี้ยบั๊ก
สถานีขนส่งสายใต้ จ๋ามแซบิ๊ดเฟี้อนาม 
สถานีขนส่งสายตะวันออกจ๋ามแซบิ๊ดเฟี้ยดงบั๊ก 
ธนาคารเงินห่าง
แท็กซี่ตั๊กซี 
รถเมล์แซบิ๊ด 
รถไฟฟ้าเต่าเดี๋ยนเจนคง
รถไฟฟ้าใต้ดินโอ๊ง 
เรือเถวี่ยน
รถทัวร์แซบิ๊ด 
เครื่องบิน ไม้ไบ

  • สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย
สัตว์ประจำชาติของฟิลิปปินส์
ควาย สัตว์ประจำชาติของเวียดนาม
ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกข้าวรายใหญ่ประเทศหนึ่งของโลก และการปลูกข้าว
ของชาวเวียดนามนั้นยังนิยมใช้ควายในการไถนาอยู่ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนเวียดนามจึงผูกพัน
กับควายมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยที่ควายนั้นจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเวียดนาม
 (เช่นเดียวกับประเทศไทยในสมัยที่ยังนิยมใช้ควายไถนานั่นเอง) ดังนั้นควายจึงถูกยกขึ้น
เป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนาม
เทศกาลของประเทศเวียดนาม

ประเพณีเนื่องจากคนเวียดนามส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากจีน ทั้งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจีนนับพันปี จึงได้รับอิทธิพลทั้งด้านความเชื่อและการดำรงชีวิตมาจากจีนไม่น้อย แม้ปัจจุบันชาวเวียดนามส่วนใหญ่จะไม่นับถือศาสนาใดอย่างเคร่งครัด แต่ประเพณีและวันหยุดสำคัญต่างๆ ก็ยังสะท้อนความเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องการกราบไหว้บูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับคนจีน      ตรุษเวียดนาม         ตรุษเวียดนาม หรือ เต๊ดเวียนด๋าน แปลว่าเทศกาลวันต้นปีใหม่ โดยนับจากจันทรคติ ชาวเวียดนามเรียกสั้นๆว่า เต๊ด เป็นประเพณีเฉลิมฉลองที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี วันเต๊ดอยุ่ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์  พิธีกรรมและประเพณีต่างๆ ที่กระทำกันในวันเต๊ดนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานการติดต่อสื่อสารและเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งระหว่างญาติมิตรระหว่างคนกับวิญญาณของบรรพบุรุษ และคนกับเทพเจ้าประจำบ้าน ช่วงเต๊ดยังถือเป็นช่วงต่อของเวลาที่สำคัญ เป็นโอกาสที่จะสร้างความหวังที่ดีงามให้แก่ตนเอง เช่น  การได้ยินเสียงสัตว์หลังเที่ยงคืนของวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือภายหลังตื่นขึ้นในตอนเช้าของวันใหม่ถ้าได้ยินเสียงไก่ตัวผู้ขัน ทำนายว่าปีนั้นจะเป็นปีที่ยุ่งยาก ถ้าได้ยินเสียงสุนัขต้องระมัดระวังการถูกขโมย เป็นต้น หนึ่งสัปดาห์ก่อนเต๊ด บางครอบครัวไปคารวะหลุมศพพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เพื่อทำความสะอาดหลุมฝังศพและจุดธูปเชิญวิญญาณของผู้ตายจากภพอื่นให้กลับมาเยี่ยมครอบครัว  ก่อนวันเต๊ด 1 วัน เรียกว่า ตั๊ดเนียน แปลว่าสิ้นปี เป็นการฉลองช่วงเวลาสุดท้ายในปีเก่าอย่างสนุกสนาน จนเมื่อเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่จะถือเป็นวันหลักที่สามีต้องอยู่กับสมาชิกในครอบครัว และญาติมิตรลูกหลานมารวมตัวกัน เด็กๆ จะได้รับการอวยพรจากผู้ใหญ่ เรียกว่า หมึ่งต่วย แปลว่า อวยพรอายุ เป็นการส่งความปรารถนาดีให้ประสบความสำเร็จอีกปี และก็รับการแจกเงินใส่ซองสีแดง สื่อความหมายว่าเงินทุนก้อนเล็กๆหรือขวัญถุง วันนั้นครอบครัวมาพร้อมหน้ากันหน้าแท่นหรือหิ้งบูชาบรรพบุรุษ แล้วเซ่นไหว้อาหารมื้อแรกสำหรับการกลับมาเยือนของบรรพบุรุษจะอยู่ตลอดช่วงเทศกาลเต๊ด หลังจากนั้นคนในครอบครัวจะกินร่วมกัน  วันที่สองของเต๊ดจะไปเยี่ยมอวยพรครอบครัวของภรรยาและเพื่อนสนิท เมื่อถึงวันที่สามจึงไปเยี่ยมคนอื่นๆ เช่น ครู เจ้านาย แพทย์ที่เคยรักษา เป็นตัน เย็นวันนี้เป็นวันที่บรรพบุรุษจากไป ชาวเวียดนามจึงเผากระดาษทองให้บรรพบุรุษนำติดตัวกลับไปใช่บนสวรรค์ ในช่วงเทศกาลเต๊ด คนที่มีข้อบาดหมางใจที่ทำให้ไม่สบายใจใดๆ ต้องทิ้งไป ห้ามพูดหยาบคาย ด่าทอ ร้องไห้ ให้พูดสิ่งที่ดี ไพเราะ          เต๊ดจุงเวียน          เต๊ดจุงเวียน (Tet Trung Nguyen) เป็นงานคล้ายกับงานสารทจีน เรียกอีกอย่างว่า สาโตยวองเญิน หรือเทศกาลโปรดผีเร่ร่อน จัดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 7 ตามจันทรคติ เชื่อว่าวันที่วิญญาณร้ายขึ้นมาบนโลก จึงมีการทำทานให้วิญญาณเร่ร่อนโดยนำข้าวต้ม ถั่วคั่ว หรือกระดาษเงินกระดาษทอง นำไปวางไว้ในวัดหรือโคนต้นไทร หลังจากเสร็จพิธีจะมอบอาหารที่ใช้ไหว้ผีให้เด็กๆ หรือคนยากจน ส่วนกระดาษเงินกระดาษทองจะเผาเพื่อส่งให้วิญญาณเร่ร่อนในอีกโลก          เต๊ดดวานเหงาะ          เต๊ดดวานเหงาะ (Tet Doan Ngo) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นกลางปี ของทุกครอบครัวเพื่อขับไล่วิญญาณร้าย และปกป้องคนในครอบครัวจากโรคภัยไข้เจ็บ มีขึ้นในวันที่ 5 เดือน5ตามจันทรคติ ที่ต้องจัดขึ้นในช่วงนี้เนื่องมาจากเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูร้อน ซึ่งมีผู้คนจะเจ็บป่วยได้ง่าย  เทศกาลนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเต๊ดเซิวเบาะ (Tet Sao Bo) เซิวเบาะ แปลว่า หนอน หรือแมลง เนื่องจากเป็นวันที่ชาวไร่ชาวนาจะกำจัดแมลงเพื่อเริ่มปลูกพืชในฤดูกาลใหม่นั่นเอง ในวันนี้ชาวนาทุกคนตื่นแต่เช้า กินผลไม้ และข้าวเหนียวหมัก รวมถึงมีพิธีบวงสรวงในตอนเที่ยงที่ถือว่าเป็นเวลาของม้า(Ngo)ด้วย         เต๊ดจุงทู         เต๊ดจุงทู (Tet Trung Thu) หรือเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง คล้ายกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน8ตามปฏิทินจันทรคติ หรืออยู่ในช่วงเดือนกันยายน ในเทศกาลนี้ชาวเวียดนามจะจัดประกวดขนมแบ๋ญจุงทู (Banh Trung Thu) หรือ ขนมไหว้พระจันทร์ รูปร่างกลม ผิวหน้าประดับลวดลายสวยงาม ใส่ไส้ถั่วและผลไม้ แต่ละบ้านจะมีโคมไฟประดับเพื่อเฉลิมฉลอง มีขบวนแห่เชิดสิงโตและมังกร ซึ่งในขบวนนี้จะอนุญาตให้เด็กๆร่วมร้องเพลงเต้นรำไปด้วย ในช่วงที่เวียดนามยังอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสเกรงว่าหากปล่อยให้ชาวเวียดนามชุมนุมกันมากเข้าจะนำไปสู่การปฏิวัติ จึงไม่อนุญาตให้ผู้ใหญ่เข้าร่วมเต้นรำในขบวนแห่ของเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง นับแต่นั้นมา เทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลของเด็ก          เต๊ดห่านทึ้ก          เต็ดห่านทึ้ก (Tet Han Thuc) เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เวียดนามได้รับมาจากจีน ทางภาคเหนือของเวียดนามโดยเฉพาะรอบๆเมืองฮานอย จะเฉลิมฉลองประเพณีนี้พร้อมกันในวันที่ 3 เดือน3 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เดิมทีมีกฎว่าในวันนี้ห้ามจุดไฟเพื่อหุงอาหาร แต่ปัจจุบันชาวเวียดนามจะถือโอกาสไปเยี่ยมเยียนและทำความสะอาดสุสานประจำตระกูล โดยจะทำ แบ๋ญโจย ขนมทำจากข้าวเหนียวสอดไส้น้ำตาลแดงนำไปต้มสุก และแบ๋ญไจ ขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวสอดไส้ถั่วบด แช่ในน้ำเชื่อม โรยงา คล้ายบัวลอยไทย เป็นของไหว้บรรพบุรุษ          เทศกาลตลาดนัดเคาวาย          ชุมชนเคาวาย (Khau Vai) ตั้งอยู่ในเขตแหม่วหวาก อยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดห่าซาง เป็นชุมชนของเผ่าซั้ย (Giay) หนุ่ง(Nung) และเหมื่อง (Muong) เทศกาลตลาดนัดของชุมชนนี้จะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ในระยะเวลาประมาณ 3 วัน วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่มีพิธีผลัดเปลี่ยนปฏิทินสู่ช่วงเวลาใหม่ของปี คนในชุมชนจะอาบน้ำแต่งตัวสวยงามตามฤกษ์ที่กำหนด นำตะเกียง กำยาน ดอกไม้ ผลไม้ ไปบูชาที่เจดีย์ สวดมนต์และขอพรให้ชีวิตในปีนี้ประสบแต่สิ่งดีๆ ในวันที่สองและสามของเทศกาลจะมีการถวายของบูชา ก่อกองทรายเพื่อโชคลาภ และสรงน้ำพระพุทธรูป นอกจากนี้ช่วงเวลาของเทศกาล ผู้คนจากท้องถิ่นที่ใกล้เคียงจะมารวมตัวกันซื้อขายสินค้าหลายประเภท มีการแสดงดนตรีและการละเล่นท้องถิ่น รวมถึงจัดแสดงงานศิลปะพื้นบ้านอีกด้วย          เทศกาลลิม          เทศกาลลิม (Lim) เป็นเทศกาลสำคัญในภาคเหนือของเวียดนาม ที่มีผู้เข้าร่วมนับล้านคน จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ในเขตบั๊กนิญ ไม่ไกลจากกรุงฮานอยนัก เทศกาลนี้มีจุดเด่นที่บทเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า กวานเหาะ (Quan ho) ซึ่งเป็นเพลงระลึกถึงชาวนาชาวไร่ ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ขับชายหญิง ผู้ขับร้องที่มีอยู่หลากหลายกลุ่ม ทั้งบนเรือ ในแม่น้ำ บนเนินเขา และตามเจดีย์ที่นับถือในท้องที่นั้น นอกจากนี้ยังมาการละเล่นพื้นบ้านที่แปลกและน่าสนใจหลายอย่าง เช่น การแข่งทอผ้าพร้อมกับขับร้องบทเพลงกวานเหาะไปด้วย และการขีดวงกลมบนพื้นและนำกบเป็นๆมาปล่อยไว้ และให้เด็กแข่งกันดูแลไม่ให้กบกระโดดออกมานอกวง โดยต้องเลี้ยงเด็กและสุมไฟในเตาไปด้วย หากกบกระโดดออกนอกวงได้ หรือไฟในเตาดับ หรือเด็กร้องให้จะถือว่าแพ้ไป เป็นต้น          เทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง          เทศกาลบูชากษัตริย์หุ่ง (Le hoi den Hung) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวเวียดนาม และเป็นวันหยุดราชการมาตั่งแต่ต้นปี ค.ศ.2007 จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน เพื่อระลึกถึงและแสดงความเคารพต่อกษัตริย์หุ่ง กษัตริย์องค์แรกตามตำนานของเวียดนาม ที่ว่ากันว่าเป็นผู้ริเริ่มสอนให้ชาวเวียดนามปลูกข้าว การเฉลิมฉลองกินเวลาหลายวัน ณ วันของกษัตริย์หุ่ง บนเขาเหงียหลิง มีการปล่อยจะมีทั้งการประดับธงตามถนนสายที่มุ่งสู่ภูเขาเหงียหลิง มีการปล่อยบอลลูนและโคมไฟลอยในคืนก่อนวันพิธีหลัก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือน 3 ตามจันทรคติ ในวันนั้นจะมีผู้แสวงบุญจากทั่วทุกทิศมารวมตัวกัน นอกจากจะมีพิธีบูชาวิญญาณของกษัตริย์ในอดีตแล้ว ยังมีขบวนแห่งช้าง การแสดงเชิดมังกร และขบวนพาเหรดจากแต่ละท้องถิ่นด้วย                   ประเพณีชนควาย          เป็นประเพณีท้องถิ่นของเมืองโดเซิน (Do son) ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศริมทะเลไม่ไกลจากกรุงฮานอย มีตำนานว่าผู้อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านฝันเห็นควายสองตัวต่อสู้กันจนเกิดคลื่นสูงในท้องทะเล เป็นนิมิตแสดงให้เห็นว่าปีนั้นจะทำประมงได้ผลดี จากนั้นจึงมีการแข่งขันชนควายเรื่อยมาทุกปีเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนถึงวันแข่งขัน ชาวบ้านจะเลือกเฟ้นควายที่มีลักษณะดีร่างกายกำยำแข็งแรงมาฝึกฝนอย่างเข้มงวด และมีการแข่งคัดเลือกหลายรอบก่อนจะเหลือ 16 ตัวสุดท้ายเข้าแข่งขันในวันเทศกาล ก่อนเริ่มการแข่งขันจะมีการแสดงระบำธงของหนุ่มสาวในท้องที่ จากนั้นจึงจะเป็นการแข่งชนควายที่ดุเด็ดเผ็ดมัน ควายตัวใดหันหลังแล้ววิ่งหนีไปก่อนจะถือว่าแพ้ ส่วนตัวที่ชนะเลิศ เจ้าของควายจะได้รับรางวัลมากมาย ก่อนที่ควายจะถูกเชือดเพื่อใช้เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำและนำเนื้อควายมาลี้ยงฉลอง          ประเพณีบูชาจูด่งตื่อ          เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นช่วงปลายเดือนเมษายน โดยมีศูนย์กลางที่วัดชุมชนดาฮว่า ใกล้กรุงฮานอย มีจุดประสงค์เพื่อบูชาจูด่งตื่อ(Chu Dong Tu) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเพาะปลูกของเวียดนาม วันงานชาวเวียดนามจะใส่เสื้อผ้าสีสันสดใส มีขบวนการแห่เชิดมังกรตัวใหญ่ที่ต้องใช้คนนับสิบช่วยกันเชิด มีการร้องรำทำเพลงทั้งตามถนนและบนเรือในแม่น้ำแดง ชาวเวียดนามจะตักน้ำจากในแม่น้ำนั้นเพื่อนำไปชะล้างทำความสะอาดรูปเคารพในวัดอีกด้วย          เทศกาลจั่วเฮือง          ทุกๆปี ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ชาวเวียดนามและนักท่องเที่ยวนับแสนคนจะเดินทางไปเฉลิมฉลองช่วงปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติที่จั่วเฮือง หรือเจดีย์น้ำหอม ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเฮืองติ้จ จุดเด่นของเทศกาลนี้ไม่ใช่การร้องรำ หรือการละเล่นพื้นบ้าน แต่เป็นการเดินทางจาริกแสวงบุญ เยี่ยมชมธรรมชาติ อาราม และเจดีย์ นับร้อยระหว่างเส้นทางสู่จั่วเฮืองเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เทศกาลนี้มีระยะเวลาถึง 3 เดือน ถือเป็นเทศกาลที่ยาวนานที่สุดของเวียดนามและได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกด้วย          เทศกาลจั่วเถ่ย          เป็นเทศกาลทางศาสนาพุทธที่จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ในบริเวณใกล้เคียงกับจั่วเถ่ย (Chua thay) หรือวัดเถ่ย ซึ่งอยู่ใกล้กับภูเขาส่านเซิน เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงด่าวแห่ญ พระสงฆ์ที่ชาวเวียดนามเลื่อมใสมาก เนื่องจากท่านมีชื่อเสียงในด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเป็นผู้ริเริ่มการแสดงหุ่นกระบอกน้ำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเทศกาลนี้มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานี้ ชาวเวียดนามจะเดินทางมาที่จั่วเถ่ยเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดูการแสดงหุ่นกระบอกและเที่ยวชมภูเขาส่ายเซิน          เทศกาลชมจันทร        เทศกาลชมจันทร์ หรือ อ๊อกออมบก (Oc Om Boc) เป็นวันหยุดในวันเพ็ญเดือน10 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเริ่มเข้าฤดูแล้ง ชาวเวียดนามในชุมชนต่างๆจะรวมตัวกันที่ลานหน้าเจดีย์ วางผลไม้ต่างๆและขนมบนโต๊ะไว้เป็นของบูชา ตกแต่งด้วยลำไม่ไผ่ยาวประดับดอกไม้ใบไม้ เมื่อถึงเวลาพระจันทร์ขึ้น ชาวเวียดนามจะนั่งบนพื้น สวดมนต์ขอพรดวงจันทร์ให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ หลังพิธีการจะมีการถามตอบ และให้พรเด็กๆ รวมถึงร้องรำฉลองจนถึงเวลาดึกดื่น          เทศกาลโบหม่า          เทศกาลโบหม่า (Bo Mai) เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์เวียดนามในเขตที่ราบสูงตอนกลางประเทศ เช่น เอเด (E de) สาซาย(Gia Rai) และบานา (Ba Na) มีประเพณีการเคารพญาติพี่น้องที่เสียชีวิตต่างจากภูมิภาคอื่น โดยจะคอยดูแลและกราบไหว้บูชาสุสาน ในช่วงเวลาสาม ห้าหรือเจ็ดปี หลังจากผู้ตายจากไปเท่านั้น ในเทศกาลนี้จะเฉลิมฉลองใหญ่โตถึงขั้นล้มวัวหลายตัว มีสุราอาหารครบ มีธรรมเนียมทำลายสุสานเก่าและสร้างขึ้นใหม่ ตามความเชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยวิญญาณผู้ตายให้ได้ไปเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าหากผ่านธรรมเนียมนี้ไปแล้ว สามีหรือภรรยาของผู้ตายจะสามารถแต่งงานสร้างครอบครัวใหม่อีกด้วย          งานแข่งช้าง          เป็นเทศกาลสำคัญในแถบที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนามจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์การสู้รบกับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่นี้ ในช่วงงานจะมีการให้ช้างพักงานปกติเพื่อเตรียมตัวเข้าแข่งขันในสนามแข่งใกล้หมู่บ้าน บวนโดน (Buon Don)สนามแข่งกว้างขวางพอให้ช้าง 10 เชือก เดินเรียงกันได้ และมีความยาวเวียดนามในท้องถิ่นจะสวมเสื้อผ้าสีสันสดใสมาร่วมชมการแข่งขัน และมีการฉลองยิ่งใหญ่ให้แก่ทั้งคนและช้างผู้ชนะ          เทศกาลโก่ลวา          จัดขึ้นทุกปีในช่วงหลังเทศกาลเต๊ดเวียนด๋าน (Tet Nguyen Dan) โดยมีจุดประสงค์เป็นการบูชาอานเซืองเวือง กษัตริย์ในตำนานของเวียดนาม ผู้พ่ายแพ้ในการศึกเพราะถูกพระธิดาทรยศ ในเทศกาลนี้ยังจะมีการแห่รูปปั้นของกษัตริย์อานเซืองเวีองพระธิดา มีการตกแต่งวัดโก่ลวา ในกรุงฮานอยด้วยธงหลากสีที่เป็นสัญลักษณ์ของธาตุทั้ง5 ชนิดตามความเชื่อโบราณ (เหล็ก ไม้ น้ำ ไฟ และดิน)มีการแสดงดนตรี งิ้ว และแต่งองค์ทรงเครื่องม้าที่ใช้ในพิธีด้วยอานที่ตกแต่งอย่างงดงาม

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ

    ประเทศเวียดนาม
    ประเทศ ใน ทวีปเอเชีย
    ประเทศเวียดนาม มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ... วิกิพีเดีย
    ประชากร89.71 ล้าน (พ.ศ. 2556) ธนาคารโลก
    ระบบการปกครองรัฐคอมมิวนิสต์, รัฐสังคมนิยม, ระบบพรรคเดียว

     ข้อมูลทั่วไป :

                   ประเทศเวียดนาม  มีชื่ออย่างเป็นทางการ  คือ  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)  ได้รับการขนานนามให้เป็น  "รอยยิ้มแห่งอาเซียน"  ตั้งอยุ่คาบสมุทรอินโดจีน  มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ  ติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก  ส่วนทางทิศตะวันออกติดอ่าวตังเกี๋ย  และทะเลจีนใต้  
    ซึ่งในภาษาเวียดนามเรียกว่าทะเลจีนใต้ว่า  ทะเลตะวันออก  ประเทศเวียดนามมีประชากรมากกว่า  98  ล้านคน  ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ  13  ของโลก

                   เวียดนาม  แม้จะไม่มีเขตแดนติดต่อกัน   แต่ชาวญวนกับชาวไทยก็มีความสัมพันธ์กันมาเนิ่นนาน  นับตั้งแต่สมัยโบราณ  มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4  ไทยกับญวนมีการกระทบกระทั่งกัน  ด้วยเหตุการณ์ทางด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งระดับผู้ปกครองประเทศเคยลี้ภัยมาพึ่งพิง
                   เมื่อสมัยกอบกู้เอกราช  โฮจิมินห์เองก็เคยหลยมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดนครพนม  นอกจากนครพนมแล้ว  ทางจังหวัดอีสานหลายจังหวัดเป็นที่รองรับการอพยพเข้ามาอาศัยของชาวญวน ที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น  ในยุคล่าอาณานิคม  ไทยก็เป็นที่หลบภัยอย่างดี  มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนบ้านเสมอ
                   ชาวญวนมีน้ำอดน้ำทน  ขยันหมั่นเพียร  แม้จะผ่านสงครามอันทำให้บ้านเมืองเสียหาย  แต่ไม่นานนัก  เวียดนามก็สามารถบูรณะบ้านเมืองขึ้นได้สลัดความล้าหลังทิ้ง  แทบไม่เหลือเวียดนามสมัยเก่าก่อน
                   แต่สิ่งหนึ่งที่เวียดนามไม่เปลี่ยก็คือ  สังคม  วัฒนธรรม  ยังยึดมั่นอยู่ดุจเดิม  แม้จะผ่านสงครามโลกมาถึง  2  ครั้ง  เป็นสงครามกอบกู้เอกสารจากฝรั่งเศษ  และหลังเป็นสงครามปลดแอกกับสหรัฐอเมริกา  บอกช้ำ  แต่เวียดนามก็ฟื้นตัวเร็ว  ชาวเวียดนามมีความเด็ดเดี่่ยว  ยึดมั่นกับประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่น
                   ความยึดมั่นอันเหนียวแน่นนี้เอง  เป็นเสมือนเกราะกำบังให้ชาวเวียดนามยืนยงอยู่ได้ตราบจนถึงทุกวันนี้  สังคม  วัฒนธรรมของเวียดนามเข้มแข็ง  ผู้คนมีจิตใจมั่นคง  ช่วยให้ความเป็นชาติยืนยงอยุ่ได้อย่างถาวร
    "เอกราช  อิสรภาพ   ความสุข"
                   คือ  คำขวัญประจำชาติของเวียดนาม  ประเทศที่มีบทบาทสำคัญและเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน  การบริโภคในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  มีศักยภาพการผลิตสูง  
    แรงงานในประเทศมีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานยังคงต่ำทั้งนี้เวียดนามตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี  พ.ศ. 2563
    ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

    ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก

    พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
    เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
    ประชากร : ประมาณ 86.1 ล้านคน (กรกฎาคม 2551) เป็น เวียด 80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย 1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง 1.03%
    ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)
    ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
    ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อมุสลิม
    สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)

    อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 461 ด่อง/ 1 บาท (มกราคม 2550)




    ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

    * ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) (27 มิถุนายน 2549)
    * หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง (Nguyen Tan Dung)
    * เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)
    * ประธานาธิบดีเจือง เติ๋น ซาง
    เกร็ดความรู้และวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม
                   ประเทศเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตัว S ทอดตัวยาวเหยียดไปตามแหลมอินโดจีน ด้านตะวันออกติดทะเลจีนใต้ ด้านเหนือติดจีน ด้านตะวันตกติดลาว และกัมพูชา สามในสี่ของพื้นที่เป็นภูเขาและป่า ครอบคลุมทะเล ไหล่ทวีป และหมู่เกาะนับพันเกาะจากอ่าวตังเกี๋ยจรดอ่าวไทย รวมทั้งหมู่เกาะสแปรตลีและพาราเซลที่จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศแย่งกันอ้างกรรมสิทธิ์ สาเหตุเป็นเพราะมีแหล่งน้ำมันใต้ดินที่อุดมสมบูรณ์ 
                   เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 432 เวียตนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียตนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียตนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียตนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น 
    วิถีชีวิตของชาวเวียดนาม
    bเวียดนามมีความสัมพันธ์กับจีนมาก่อนการปฏิวัติระบบการปกครอง จึงทำให้มีความเชื่อ ศิลปะ 
    วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจีน ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของจีนได้แพร่ขยายมายังเวียดนามด้วย ทั้งลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญต่อการนับถือบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ที่สอนเรื่องความสมดุลของธรรมชาติ  รวมไปถึงศาสนาพุทธนิกายมหายานที่สอนเรื่องกรรมดีและกรรมชั่ว แม้ว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามจะทำลายความเชื่อและศาสนาส่วนหนึ่งไปในช่วงปฏิวัติระบบการปกครอง แต่ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีนักบวชในศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ได้ 
    อีกทั้งพลเมืองส่วนหนึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมสืบทอดมาจน ถึงปัจจุบัน

    b ชาวเวียดนามยังมีความนับถือสวรรค์หรือที่เรียกว่า "องเตร่ย (Ong Troi)" และเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้าดิน เทพเจ้าน้ำ หรือเทพเจ้าอื่นๆ ดังนั้น นอกจากวัดในศาสนาพุทธ 
    (จั่ว - Chua) ศาลาประชาคม (ดินห์ - Dinh) หรือแท่นบูชาจักรพรรดิในอดีต (เดน - Den) แล้ว ยังมีการตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า (เหมียว - Mieu) กระจายอยู่โดยทั่วไป ประชาชนนิยมนำดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้มาสักการะบูชาในวันที่ 1 และ 15 ค่ำ นอกจากนี้ คำสอนของขงจื๊อก็ยังคงอิทธิพลอยู่ในเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้บรรพบุร


    ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม

                   ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศล และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน


                   ถ้าจะกล่าวถึงวัฒนธรรมนั้นสามารถ แยกแยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลายในที่นี้จะ กล่าวเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมเวียดนาม กับ วัฒนธรรมไทยหรืออื่น ๆ เท่าที่จะค้นคว้าได้ ดังนี้ 



    วัฒนธรรมทางด้านภาษา 

                   ภาษาของเวียดนามในช่วงแรกใช้อักษรจีนมาตลอดจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จึงเปลี่ยนมาใช้ อักษรโรมัน (quoe ngu) และถ้าสังเกตจริง ๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งเศล และเมื่อนำมาเปรียบเทียบ การออกเสียงหรือความหมายของคำแล้วจะพบว่า ความใกล้เคียงของภาษาไทยกับภาษาลาวจะใกล้เคียง กันมากกว่า ภาษาเวียดนาม ดังตัวอย่างง่าย ๆ ต่อไปนี้

                   ในส่วนของการใช้สัญลักษณ์ของป้ายทะเบียนท้ายรถยนต์ มีความแตกต่างกันมาก เช่นกัน ดังรายละเอียดต่อไป
    วัฒนธรรมพื้นบ้าน 

                   สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน

    ศิลปพื้นบ้าน 

                   ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม


    เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)”

                   โดยปกติแล้ว ชาวเวียตนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทสกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ

    เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

                   จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์

    ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง ในประเทศเวียดนาม
                   พิธีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงเป็นกิจกรรมความเชื่อแบบโบราณแต่แฝงไว้ด้วยคุณค่าวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวเวียดนามซึ่งการเข้าทรงได้รับการถือเป็นศิลปะการแสดงที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะมีทั้งการเล่นดนตรี การร้องเพลงและฟ้อนรำ แม้จะผ่านกาลเวลามานานแสนนานแต่ประเพณีนี้ยังคงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและโดยคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้ การบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงของประชาชนเวียดนามกำลังได้รับการยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโก้ ขอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรม
     การบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีที่มีมาแต่เดิมนานในเวียดนามโดยเริ่มมาจากการบูชาบรรดาเทพธิดาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งบรรดาเทพธิดานั้นเป็นตัวแทนของธรรมชาติ เช่น เจ้าแม่ธรณี เจ้าแม่คงคา เจ้าแม่โพสพ เป็นต้น ต่อมาภายหลังประชาชนได้มีการเชิดชูบูชาบรรดาวีรสตรีของชาติ เช่น บรรดาเจ้าหญิง พระมเหสีหรือผู้ให้กำเหนิดอาชีพของหมู่บ้านเป็นเจ้าแม่โดยถือว่า เป็นทั้งเทพธิดาที่มีอำนาจลึกลับศักสิทธิ์และเป็นทั้งบุพการีที่มีใจการุญคอยให้ความคุ้มครองอย่างใกล้ชิดในชีวิตแห่งจิตวัญญาณของประชาชน ศ.ดร. NgoDucThinh อดีตหัวหน้าสถาบันศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนามเผยว่า"การบูชาเจ้าแม่ก็คือการบูชาบุพการีที่ถือเป็นเทพธิดาซึ่งเป็นเทพเจ้าในความเชื่อของมนุษย์ นั่นคือผู้ที่สร้างอวกาศ ดูแลอวกาศ คอยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์และบันดาลประโยชน์สุขพื้นฐาน 3 ประการให้แก่มนุษย์คือ สุขภาพ เงินทองและโชคลาป การบูชาเจ้าแม่เน้นในความสนใจต่อมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยเหตุฉนั้นจึงดูเหมือนว่า สังคมยิ่งทันสมัย การบูชาเจ้าแม่ก็ยิ่งพัฒนาเพราะใครๆก็ต้องการสุขภาพ เงินทองและยศถาบรรดาศักดิ์กันทั้งนั้น”
                   ตามความเชื่อของมนุษย์ อวกาศแบ่งเป็น 3 ภาคหรือ 4 ภาค แต่ละภาคมีสัญลักษณ์เป็นสีแตกต่างกัน อย่างเช่น ภาคฟ้าเป็นสีแดง ภาคดินเป็นสีเหลือง ภาคน้ำเป็นสีขาวและภาคป่าเป็นสีเขียวโดยเจ้าแม่ได้กลายร่างเป็นเทพเจ้าดูแลแต่ละภาค ฉนั้นชาวเวียดจึงถือเจ้าแม่เป็นตัวแทนที่อมตะแห่งจิตวิญญาณของตนซึ่งหนึ่งในพิธีสำคัญในการบูชาเจ้าแม่คือ พิธีเข้าทรงเป็นพิธีที่มีการเล่นดนตรี ร้องเพลงและฟ้อนรำด้วย เพลงที่ร้องในพิธีเข้าทรงของชาวเวียดคือ เพลง ChauVan พิธีเข้าทรงมักจะจัดขึ้นที่วัดในบรรยากาศที่เงียบสงบ การเตรียมงานทำพิธีเข้าทรงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบโดยมีถาดเครื่องเซ่นไหว้ที่จัดแจงอย่างสวยงาม มีแสงเทียนริบหรี่สร้างบรรยากาศแห่งความลึกลับของเวทีเข้าทรง ลักษณะการเข้าทรงก็คือการกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่วัญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาเข้าทรงเพื่อประทานพรให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรง มีโชคลาป ผู้ที่เป็นร่างทรงจะมีกริยาท่าทางและเสียงพูดคล้ายผู้มาเข้าทรง นาง Lien ศีลปินผู้สูงอายุและเคยเข้าร่วมพิธีเข้าทรงกล่าวว่า“ดิฉันเป็นศีลปินในคณะนาฏศิลป์แห่งชาติ เคยสวมบทบาทแสดงมามากมายหลายรูปแบบ แต่เมื่อมาร่วมพิธีเข้าทรงครั้งนี้ มีความรู้สึกว่า ผู้เป็นร่างทรงแสดงบทบาทของแต่ละบุคคลได้ดีเหมือนศีลปินในบทละคร ไม่ว่าจะเป็นบทนักรบต่อสู้กับศัตรูหรือบทอื่นๆ”
                   โดยผ่านร่างทรงของเทพเจ้าในประวัติศาสตร์ บรรดาบรรพบุรุษที่มีคุณความดีต่อชาติบ้านเมืองได้รับการเคารพบูชาซึ่งนักศึกษาวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศล้วนมีความเห็นเดียวกันว่า ความเชื่อในการบูชาเจ้าแม่และพิธีเข้าทรงนั้นมีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ดีงามของเวียดนามและมีเงื่อนไขอย่างสมบูรณ์ในการยื่นขอรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกจากองค์การยูเนสโก้
    ขอบคุณที่มา : http://vovworld.vn/th-TH/วัฒนธรรม/ประเพณีบูชาเจ้าแม่และเข้าทรง/89903.vov

    การแต่งกายเวียดนาม

    ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้ แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ
    1. เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
    2. เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
    ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว 


    การแต่งกาย 

    ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า 


    ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ 



    ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

    ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ 

    จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย 

    ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย

    การแต่งกายของชาวเวียดนาม